เมนู

ลำบาก. บทว่า ตํ ในคำว่า ยถา ตํ ภิกฺขเว อวิสยสฺมึ นี้เป็นเพียง
นิบาต. บทว่า ยถา เป็นคำบ่งเหตุ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ถูกถามใน
สิ่งที่ไม่ใช่วิสัย. ความจริงสัตว์ทั้งหลายย่อมมีความคับแค้นใจในสิ่งที่ไม่ใช่
วิสัย. การเทินศิลาประมาณเท่าเรือนยอดข้ามน้ำลึก เป็นเรื่องไม่ใช่วิสัย.
การฉุดพระจันทร์พระอาทิตย์ลงมา ก็เหมือนกัน. เมื่อพยายามในสิ่งที่มิใช่
วิสัยนั้นย่อมลำบากแท้ อธิบายว่า ต้องลำบากในสิ่งที่มิใช่วิสัยแม้นี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาสัพพสูตรที่ 1

2. ปฐมปหานสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง


[ 25 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง
นั้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรม
สำหรับละสิ่งทั้งปวงนั้นเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ รูป จักษุ-
วิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่
ควรละ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลเป็นธรรม
สำหรับละสิ่งทั้งปวง.
จบ ปฐมปหานสูตรที่ 2

อรรถกถาปฐมปหานสูตรที่ 2


ในปฐมปหานสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .
บทว่า สพฺพํ ปหาย แปลว่า ละซึ่งสิ่งทั้งปวง. บทว่า จกฺขุ-
สมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชาติ เวทยิตํ
ได้แก่เวทนาที่สัมปยุตด้วยสัมปฏิจ-
ฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะและชวนะ ที่เกิดขึ้นเพราะกระทำสห-
ชาตธรรมที่มีจักษุสัมผัสเป็นมูลให้เป็นปัจจัย แต่ธรรมที่สัมปยุตด้วยจักษุ-
ิวิญญาณไม่จำต้องกล่าวถึงเลย. แม้ในธรรมที่มีเวทนาเป็นปัจจัยมีโสตทวาร
เป็นต้นเป็นอาทิ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในที่นี้ บทว่า มโน ได้แก่ภวังคจิต.
บทว่า ธมฺมา ได้แก่อารมณ์. บทว่า มโนวิญฺญาณํ ได้แก่ชวนจิตที่
เกิดพร้อมกับอาวัชชนจิต. บทว่า มโนสมฺผสฺโส ได้แก่ผัสสะที่เกิด
พร้อมกับภวังคจิต. บทว่า เวทยิตํ ได้แก่เวทนาที่เกิดพร้อมกับชวนจิต.
แม้เวทนาที่เกิดพร้อมกับภวังคจิต ก็ย่อมเป็นไปพร้อมกับอาวัชชนจิต
เหมือนกัน. แต่ในที่นี้ เทศนาที่เป็นคำสอนต่อเนื่องกันชื่อว่า บัญญัติ.
จบ อรรถกถาปฐมปหานสูตรที่ 2

3. ทุติยปหานสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง


[ 26 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อรู้ยิ่งกำหนด
รู้แล้วละสิ่งทั้งปวง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละเสียซึ่งสิ่งทั้งปวงเป็นไฉน.
จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละเสีย